Wednesday, December 12, 2012

ตำนานโนรา ของจังหวัดสงขลา

สกุลสุวรรณมณีเป็นสกุลที่ร.6 พระราชทานลำดับที่1775 เมื่อ 22มีนาคม 2455 ต้นตระกูลคือ ร้อยตรีเหมือน สำรองราชการกรมแผนที่ บิดาชื่อทอง ปู่ชื่อแก้ว



หมื่นระบำบันเทิงชาตรี (คล้าย  พรหมเมศ)  หรือโนราคล้ายขี้หนอน
  แห่งเมืองนครศรีธรรมราชตามหนังสือ สารานุกรมไทยภาคใต้
 ( เรียบเรียงโดย วิเชียร  ณ นคร )     กับ
ขุนระบำบันเทิงชาตรี (คล้าย  มโนเรศ) หรือหรือโนราคล้ายขี้หนอน  แห่งเมืองสงขลา
(ข้อมูลสืบค้นโดย  ชยณัฐ  จำปาเรือง)  เป็นคนเดียวกันหรือไม่
จากข้อสังเกต
          ๑.มีประวัติอยู่ในช่วงยุคเดียวกัน คือ สมัยรัชกาลที่ 4 ถึง รัชกาลปัจจุบัน
                ๒.มีราชทินนาม เหมือนกัน คือ  ระบำบันเทิงชาตรี แต่ต่างกันที่บรรดาศักดิ์ เป็นท่าน
ขุน  กับท่าน หมื่น
                ๓.อาศัย อยู่ในมณฑลนครศรีธรรมราช เหมือนกันแต่คนละเมือง  หมื่นระบำบันเทิงชาตรี อยู่เมืองนครศรีธรรมราช  ส่วน ขุนระบำบันเทิงชาตรี อยู่เมืองสงขลา
                ๔.รูปถ่าย ในหนังสือสารานุกรมไทยภาคใต้ เล่ม ๒  กับในหนังสือท่ารำไทย  กล่าว ว่าเป็นโนราคล้ายขี้หนอน ชาวนคร แต่ที่สงขลา ได้รับคำยืนยัน จากลูกสาวของท่าน ยังมีชีวิตอยู่ 2 คน และคนเฒ่าคนแก่ในตำบลชิงโค ต่าง บอกว่านี้คือรูปของขุนระบำบันเทิงชาตรี
                ๕.มีประวัติว่าเข้ารำถวายหน้าพระพักตร์ ในหลวง รัชกาลที่ 5 และ6 เหมือนกัน
                ๖.มีฉายา  โนรา คล้ายขี้หนอน  เหมือนกัน
                ๗.ขุนระบำบันเทิงชาตรี(คล้าย  มโนเรศ) และถึงแก่กรรมในจังหวัดสงขลา ของหมื่นระบำฯ ตามหนังสือสารานุกรมข้อมูลไม่ชัดเจน
          ๘.นามสกุล ทั้ง ๒ มีความคล้องกัน พรหมเมศ , มโนเรศ  แต่ที่สงขลาท่านยังได้รับพระราชทานนามสกุล จาก สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศ ว่า มโนรี ด้วยมีเพียงลูกสาวคนเล็กของท่านใช้  ปัจจุบันนี้นามสกุลนี้จึงหมดไปตั้งแต่ ท่านแต่งงาน
          ๙.มีพรานในคณะชื่อพรานนุ่น เหมือนกัน
จากข้อสันนิษฐานว่าขุนระบำบันเทิงชาตรี (คล้าย  มโนเรศ) และ หมื่นระบำบันเทิงชาตรี(คล้าย  พรหมเมศ) น่าจะเป็นคน คนเดียวกัน
                ๑.จากประวัติที่สืบค้นท่านมีภรรยาหลายคน  เป็นไปได้ว่าท่านได้มีภรรยาอยู่ที่นคร ฯ คงมีลูกหลานอยู่ที่นั้น
                ๒.ใน สมัยนั้น สงขลา พัทลุง ตรัง รวมอยู่ในมณฑลนครศรีธรรมราช ที่ทางการ ให้นำคณะโนรา ของมณฑลนครศรีธรรมราชขึ้นไปรำถวาย พระเจ้าแผ่นดิน ก็เป็นไปได้ว่า  มีการเรียกตัวคณะ โนรา ที่มีความชำนาญ และรำได้สวยงามที่สุด ซึ่งก็อาจจะมาจากหัวเมือง ต่าง ๆ ในการปกครองของมณฑลนครศรีธรรมราช ขึ้นไปรำถวายก็เป็นได้

๓.รูปถ่าย ในหนังสือสารานุกรมไทยภาคใต้ เล่ม ๒ กับในหนังสือตำราท่ารำไทย  กล่าวว่าเป็นโนราคล้ายขี้หนอน ชาวนคร แต่ที่สงขลา ได้รับคำยืนยัน จากลูกสาวของท่าน ยังมีชีวิตอยู่ ๒ คน คือนางเอี่ยม  สุวรรณมณี และนางดำ  ทองแก้วแก้ว และคนเฒ่าคนแก่ในตำบลชิงโค ว่าเป็นขุนระบำบันเทิงชาตรี (คล้าย  มโนเรศ)
                ๔.ประวัติ ในจังหวัดสงขลาได้สืบค้นสอบถามจากลูกหลานของท่านที่ยังมีชีวิตอยู่และคนเฒ่า คนแก่ในตำบลชิงโคที่ เกิดทันท่าน ( อายุราว ๖๐-๗๐ ปี ขึ้นไป)
                ๕.เรื่องบรรดาศักดิ์  สันนิษฐาน ว่า บรรดาศักดิ์ ที่ หมื่นระบำบันเทิงชาตรี นั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ พระราชทานให้ ในปี พ.ศ.๒๔๕๑  ส่วนขุนระบำบันเทิงชาตรี นั้น  สมเด็จเจ้าฟ้า กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์  อุปราช มณฑลปักษ์ใต้ และสมุหเทศาภิบาลมณฑลนครศรีธรรมราช พระราชทานให้ พร้อมตั้งเป็นมโนราหลวง จากคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่ในตำบลชิงโค ว่าได้พระราชทานพร้อมกับ ขุนลอยฟ้าโพยมหน  (ขับ  กล่อมเกลี้ยง) หนังขับ ดีหลวง  หนังตะลุงหลวง  คณะเดียว ของไทย

 มมม
ตำนานโนรา ของจังหวัดสงขลา
ตำนานกำเนิดโนราจังหวัดสงขลา  จากคำบอกเล่าของ ขุนระบำบันเทิงชาตรี (คล้าย  มโนเรศ)  เล่าให้  นางดำ  มโนรี (ทองแก้วแก้ว) อายุ ๖๘  ฟัง ในวัยเด็ก  ชยณัฐ จำปาเรือง  เป็นผู้สัมภาษณ์  ณ บ้านเลขที่  ๕๑ หมู่ ๒ บ้านหัวทรายขาวตำบลชิงโค  อำเภอสิงหนคร  จังหวัดสงขลา ( ปี ๒๕๔๘ )
                มีเมืองเมืองหนึ่ง  ชื่อเมืองพัทละ  มีเจ้าเมืองชื่อ พระยาสายฟ้าฝาด  มีพระมเหสีชื่อ นางศรีมาลา   และมีพระธิดา ชื่อ นางนวลทองสำลี   
                อยู่มาวันหนึ่ง นางนวลทองสำลี  ได้อยากเสวยน้ำค้างตอนเที่งวัน  จึงให้พี่เลี้ยงนางสนม  ออกไปหามาให้  แล้วได้พบน้ำค้างเที่ยงวันในใบบอน  ก็ได้นำมาถวายนางนวลทองสำลี   เมื่อนางนวลทองสำลีได้เสวยน้ำค้างเที่ยงวันเข้าไป  หลังจากนั้นไม่นาน นาวก็ตั้งครรภ์  โดยไม่ได้มีอะไรกับใคร (เทพลงมาจุติ)  ข้าวรู้ไปถึงชาวบ้าน  ก็ต่างวิภาควิจารณ์  กันว่า ลูกเจ้าลูกแผ่นดินไม่รู้ไปท้องกับใคร  เมื่อทราบถึงพระยาสายฟ้าฝาด  ก็ได้เรียกนางนวลทองสำลี มาสอบถามว่าไปตั้งครรภ์กับใคร  แต่นางไม่สามารถบอกได้  ทำให้พระยาสายฟ้าฝาด โกรธมาก  จึงได้จับนางนวลทองสำลี พร้อมด้วยพี่เลี้ยง ลอยแพออกไปจากเมือง  แพลอยไปติดเกาะกะชัง  แล้วได้พบพรานบุญ  ที่อาศัยล่าสัตว์อยู่บนเกาะกะชัง  แห่งนี้  พรานบุญก็ค่อยดูแล หาข้าวปลาอาหารให้นางนวลทองสำลีจนนางคลอดบุตร เป็นชาย  นางได้ตั้งชื่อว่า เทพสิงขร  นางนวลทองสำลีได้ให้กำเนิดเทพสิงขรใต้เตยเชง  เมื่อกุมาร อายุได้ ๙  ชันษา  นางนวลทองสำลีได้สอนท่ารำที่นางได้นิมิต  จนกุมารรำได้ชำนาญ  นางจะพาเทพสิงขรไปหน้าถ้ำทุกวันเพื่อหัดรำ  บางครั้งก็หัดรำด้วยตัวเองโดยอาศัยดูเงาของตนเอง ว่ารำได้ดีและสวยหรือไม่  เทพสิงขรจะมารำอยู่ที่หน้าถ้ำเป็นประจำทุกวัน  จนมีผู้คนผ่านมาพบเห็น  จนมีชื่อเสียงได้ยินไปถึงพระกรรของ  เจ้าเมืองพัทละ ซึ่งเป็นพระอัยกาของเทพสิงขร  ว่ามีเด็กชายอยู่บนเกาะกะชัง  รำได้สวยงามมากราวกับนกกับหงส์  ทำให้พระยาสายฟ้าฝาด อยากดูมาก  จึงรับสั่งให้ทหารข้าราชบริพาน  ไปรับตัวเทพสิงขรเข้ามารำถวายในวัง  ครั้นพระยาสายฟ้าฝาดได้เห็นกุมาร ก็มีความแปลกใจที่หน้าตาของกุมารคล้ายกับนางนวลทองสำลี พระธิดาของพระองค์   เมื่อกุมารรำเสร็จ   พระยาสายฟ้าฝาดก็ได้เรียกกุมารเทพสิงขร เข้ามาสอบถาม จึงได้รู้ว่าเป็นหลานของตน  และด้วยความพอใจในวิชา  ที่กุมารร่ายรำ จึงได้ประทานนามให้ว่า ขุนศรีศรัทธา  พร้อมด้วยเครื่องทรง  อันได้แก่  เทริด   สังวาล   หางหงส์   ทับทรวง   กำไลต้นแขน  กำไลปลายแขน  กำไลมือ  ปั้นเหน่ง   ชายแคลง   ชายไหว  สนับเพลา  
                แต่พะยาสายฟ้าฝาด เมื่อรู้ว่าเทพสิงขร เป็นหลานแต่ก็มิได้ห้เทพสิงขรและนางนวลทองสำลี  กลับเข้ามาอยู่ในวัง  เพราะเมื่อกษัตริย์ตรัสแล้วไม่คืนคำ  เมื่อเทพสิงขรรำถวายเสร็จ ก็กลับไปอยู่เกาะกะชังตามเดิม
                หมายเหตุ  เตยเชง   คือ ต้นเตยที่มีขนาดใหญ่  มีความสำคัญในการตั้งโรงโนรา
                                    เกาะกะชัง  ปัจจุบันคือ เกาะใหญ่  ตั้งอยู่ในอำเภอกระแสสินธิ์ จังหวัดสงขลา
ตำนานกำเนิดโนรา มีหลายตำนานแต่ก็คล้ายคลึงกันต่างมีแหล่งกำเนิดอยู่ใน ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา


ประวัติการสร้าเหรียญพ่อท่านแก้ว หาดูได้จาก ชมรมพระเครื่องเมืองสงขลาครับ

0 comments:

Post a Comment

Design by Suwanmanee