Monday, December 24, 2012

สวนอาหารสุวรรณมณี

สวนอาหารสุวรรณมณี

ที่ตั้ง:
ถนนเลี่ยงเมืองสายเอเชีย ต.ควนลัง จ.สงขลา, อ.หาดใหญ่
โทรศัพท์:
074-501-683 / 088-395-8454
เว็บไซต์:https://www.facebook.com/suvarnamani.restaurant

http://static1.th.orstatic.com/UserPhoto/photo/0/HQ/003I706FEC0C51FF4BE993l.jpg

https://fbcdn-sphotos-b-a.akamaihd.net/hphotos-ak-ash3/c165.0.403.403/p403x403/561549_366143950144305_1525833914_n.jpg

http://static3.th.orstatic.com/UserPhoto/photo/0/HQ/003I6Z3814A28E13F63E60l.jpg

http://static4.th.orstatic.com/UserPhoto/photo/0/HQ/003I6Y895D5E9FA30634A2l.jpg

https://fbcdn-sphotos-f-a.akamaihd.net/hphotos-ak-ash3/p75x225/154486_438577252875305_527271567_n.jpg

Wednesday, December 12, 2012

เสือปล้นที่โด่งดัง นามเสือแย้ม สุวรรณมณี

เพิ่ม เติมท่านอาจารย์เลื่อนพื้นเพ เป็นคนป่าขาด อำเภอสิงหนคร อดีตท่านเป็นเสือปล้นที่โด่งดัง นามเสือแย้ม สุวรรณมณี เป็นสหธรรมิก กับตาหลวงอินทร์ (เทวดา) วัดแหลมกรวดพัทลุงครับ

ร่วมแจม อดีตเคยครอบครอง



หลวงพ่อ เลื่อน วัดสมแก้วจัดเป็นเกจิอาจารย์ที่ได้รับความศรัทธามากองค์หนึ่งในจ.ชุมพร เนื่องด้วยประสบการณ์อันโดดเด่นครับ.....เหรียญรุ่นแรกจัดสร้างเมื่อปี 2497ซึ่งเป็นของท่านนั้นมีสองพิมพ์ครับสังเกตที่ตัวโมข้างด้านหลังจะมีพิมพ์ ที่พี่ลงและอีกพิมพ์หนึ่งคือเป็นโมอีกแบบหนึ่ง


รูปแกะหนังตะลุง : แถบอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา

รูปแกะหนังตะลุง
ภูมิปัญญารูปแกะหนังตะลุง
 

ประวัติความเป็นมา
เมื่อปี พ.ศ. 2500 นายส่อง สุวรรณมณี ซึ่งเป็นศิษย์ของนายหนังตะลุงแถบอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ได้ย้ายถิ่นฐานที่อยู่มาอยู่ที่ หมู่ที่ 2 ตำบลเสาธง อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช และได้แสดงหนังตะลุงในบริเวณที่อยู่อาศัย จนมาระยะหนึ่ง นายส่อง สุวรรณมณี ได้ใช้เวลาว่างในการแกะหนังตะลุงขึ้น ซึ่งอาศัยศิลปะการแกะหนัง จากการสังเกตตอนที่อยู่ระโนด จากช่างที่มาแกะหนังตะลุง ให้แสดงในเวลานั้น นายส่องจึงแกะหนังตะลุงเพื่อให้แสดงเอง แสดงจนมีชาวบ้านในหมู่บ้านสระพัง ตำบลเสาธง มีความสนใจและได้ฝึกการแกะหนังตะลุง จนมีลูกศิษย์หลายคนที่ยึดเป็นอาชีพการแกะหนังตะลุงต่อมา
จุดนี้เองจึงทำให้หมู่บ้านสระพังมีช่างแกะหนังฝีมือดีหลายคนเกิดขึ้น และ นายส่อง สุวรรณมณี ก็ได้ถ่ายทอดการแกะหนังให้ลูก ๆ และยึดเป็นอาชีพมาจนถึงทุกวันนี้
จากความรู้ความสามารถของนายส่อง สุวรรณมณี ได้ถ่ายทอดให้ลูก ๆ จนลูก ๆ ทุกคนมีความสามารถในงานศิลปะด้านแกะหนัง โดยเฉพาะ นายกิจติ สุวรรณมณี ได้สร้างผลงานด้านแกะหนัง จนมีฝีมือ เป็นที่ยอมรับและได้ส่งภาพหรือรูปหนังเข้าประกวดจนได้รับรางวัลและเกียรติ บัตรมากมาย ทำให้หน่วยงานราชการต่างๆ ได้เชิญให้ไปแสดงผลงานตามงานและเทศกาลต่างๆ โดยเฉพาะโรงเรียนละแวกใกล้เคียงได้เชิญให้ นายกิจติ สุวรรณมณี ไปเป็นวิทยากร และสอนเด็กนักเรียนอยู่เป็นประจำ ทำให้ศิลปะการแกะหนังในหมู่บ้านสระพังมีผลงาน และเผยแพร่ไปอย่างรวดเร็วเป็นที่สนใจของชุมชนและเยาวชน ทำให้มีผู้มาเรียนรู้ในการแกะหนังมากขึ้น เนื่องจากสามารถสร้างรายได้เสริมให้ครอบครัวเป็นอย่างดี

เอกลักษณ์/จุดเด่นผลิตภัณฑ์
          เป็นผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นแสดงถึงเอกลักษณ์ของคนปักษ์ใต้ ที่มีการทำด้วยฝีมือประณีต สวยงาม และคงทน

วัตถุดิบและส่วนประกอบ
1.หนังวัว
2.สี
3.เขียงตอก (ไม้เนื้อแข็ง)
4.เขียงขุด (ไม้เนื้ออ่อน)
5.ตุ๊ดตู่(มุก)
6.มีดขุด
7.ฆ้อน
8.พู่กัน
9.น้ำมันวานิช
10.ไม้ตับ
11.เชือก
ขั้นตอนการผลิต
1.นำหนังมาฟอก
2.ตากหนังให้แห้ง
3.ตัดเป็นรูปแบบต่าง ๆ ที่ต้องการ
4.เขียนลาย
5.ตอกตามลวดลาย
6.ลงมือแกะหนัง
7.ระบายสี
8.เคลือบเงา
9.นำไปใส่กรอบ/ใส่ถุงจำหน่าย

รูปแกะหนังตะลุง : จังหวัดนครศรีธรรมราช
เมื่อปี พ.ศ. 2500 นายส่อง สุวรรณมณี ซึ่งเป็นศิษย์ของนายหนังตะลุงแถบอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ได้ย้ายถิ่นฐานที่อยู่มาอยู่ที่ หมู่ที่ 2 ตำบลเสาธง อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช และได้แสดงหนังตะลุงในบริเวณที่อยู่อาศัย จนมาระยะหนึ่ง นายส่อง สุวรรณมณี ได้

พระสุวรรณมณี ปี65

พระสุวรรณมณี ปี65

พระสุวรรณมุนี (ฉุย สุโข)


พระสุวรรณมุนี (ฉุย สุโข) หรือ หลวงปู่ฉุย

ข้อมูลประวัติ

เกิด วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2401 เป็นบุตรของ นายนง นางนก
อุปสมบท พ.ศ. 2421 ขณะอายุ 20 ปี
มรณภาพ วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2466
รวมสิริอายุ 65 ปี 45 พรรษา

วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยม

เหรียญรุ่นแรก สร้างปี 2465 สร้างแจกในโอกาสทำบุญฉลองมณฑปที่ประดิษฐานพระพุทธชินราช ซึ่งเหรียญรุ่นนี้ถือเป็นเหรียญยอดนิยมของวงการ สำหรับเหรียญรุ่นปีพ.ศ. 2467 เป็นเหรียญตาย สร้างพร้อมกับรูปหล่อขนาดเท่าองค์จริง เพื่อประดิษฐานในมณฑป ปลุกเสกโดยหลวงพ่อมงคล และ หลวงพ่อแฉ่ง สำหรับเหรียญรุ่นแรกนี้มีด้วยกัน 2 พิมพ์ คือ พิมพ์โมมีไส้ และพิมพ์โมไม่มีไส้

พุทธคุณที่เล่าสืบทอดกันมา

พุทธคุณในเหรียญรุ่นนี้เด่นทาง เมตตามหานิยม แคล้วคลาด อยู่ยงคงกระพัน และอยู่ในชุดเบญจภาคี ของพระเครื่องไทยตลอดมา เหรียญของหลวงปู่ฉุยจัดว่าเป็นเหรียญที่หาย่าก

ก่อตั้งโรงเรียน

หลวงปู่ฉุยได้ก่อร่างสร้างฐานรากที่แข็งแกร่งทางการศึกษาให้ลูกหลานชาวเพชรบุรีได้มีที่สถานศึกษาเล่าเรียนที่มีคุณภาพดี และสร้างบุคคลกรที่ดี คุณประโยชน์แก่ชาติบ้านเมืองสืบไป โดยหลวงปู่ฉุยได้ย้ายโรงเรียนของหลวงพ่อริด จาก วัดพลับพลาชัยที่ เปิดการเรียนการสอนมาตั่งแต่ พ.ศ. 2437 ด้วยเหตุว่าวัดพลับพลายชัยคับแคบ มาเรียน ณ วัดคงคารามวรวิหาร เมื่อปี พ.ศ. 2444 โดยตั้งชื่อโรงเรียนว่า "โรงเรียนบำรุงไทย " ภายหลังโรงเรียนบำรุงไทยได้ เปลียนเป็นชื่ออื่นเรื่อยมาและและกิจการด้านการเรียนการสอนได้เจริญรุดหน้า เป็นลำดับ สถานที่ของโรงเรียนในวัดคงคารามวรวิหารคับแคบเกินกว่าจะขยายฐานการศึกษาให้ ใหญ่โตได้ จึงได้ย้ายโรงเรียนจากวัดคงคารามวรวิหารมาตั้ง ณ บริเวณวัดร้างเชิงเขาวัง (พระนครคีรี) ด้านทิศใต้ โดยตั้งในพื้นที่ของวัดป่าแก้ว วัดโคกมะกูด วัดช้างน้อย พื้นที่บางส่วนของวัดพระพุทธไสยาสน์ (วัดพระนอน) วัดช้างใหญ่ (วัดช้าง) และวัดถ้ำแก้ว ได้เปลียนชื่อเป็น "โรงเรียนพรหมานุสรณ์จังหวัดเพชรบุรี"ตั่งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา



แหวนนามสกุล สุวรรณมณี






แหวนนามสกุล สุวรรณมณี



ตระกูลสุวรรณมณี ตำบลโรง อำเภอกระแสสินธ์ จังหวัดสงขลา

เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ นายเลข สุวรรณมณี พร้อมด้วย ครอบครัวร่วมกับ ประชาชนชาวบ้าน ตำบลโรง อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา ถวายผ้ากฐิน
วัดโรง อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา  ประจำปี 2555 



http://suwachai.blogspot.com/2012/11/blog-post_7896.html



เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๕  นายเลข สุวรรณมณี  กรรมการ มูลนิธิพลเอกเปรมติณสูลานนท์ อำเภอกระแสสินธ์  พร้อมครอบครัว ร่วมกับ แม่ชี ประจำวัดโรง  ได้มอบเงินบริจาค จำนวน 15,000 บาท ให้ กับมูลนิธิพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ อำเภอกระแสสินธุ์ โดยมี นายเปรม ทองเนื้อแข็ง สมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา(สอบจ.) อำเภอกระแสสินธุ์ เขต 1 เป็นผู้รับมอบ
มูลนิธิพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ อำเภอกระแสสินธ์  จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นทุนการศึกษาให้กับนักเรียน ในเขต อำเภอกระแสสินธ์

http://suwachai.blogspot.com/2012/11/blog-post_12.html



สุวรรณมณีอำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

สวัสดีค่ะหนูก็เป็นลูกหลานสุวรรณมณีพ่อเล่าให้ฟังว่าต้นตระกูลมาจากสิงหนคร ทวดย้ายมาอยู่รัตภูมิ ปัจจุบันหนูอยู่หนูตำบลดอนทราย  อำเภอปากพะยูน  จังหวัดพัทลุง

สวัสดี ค่ะ ดิฉันก็เป็นสุวรรณมณีคนหนึ่งค่ะ  แต่อาศัยอยู่ที่อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานีค่ะ  ปู่และทวดของดิฉัน เป็นคนหลังสวน  จังหวัดชุมพรค่ะ และอดีตก็เล่นมโนราห์เหมือนกัน  ดิฉันภูมิในเชื้อมโนราห์ของบรรพบุรุษ และก็ภูมิใจที่ได้ใช้นามสกุล สุวรรณมณีค่ะ  และยินดีที่ได้รู้จัก ญาติร่วมตระกูลทุกคนนะค่ะ หมายเหตุ  ทวดเคยบอกดิฉันเหมือนกันว่าตระกูลเรา เป็นนามสกุล พระราชทานค่ะ โดย : นางสาวญาดา สุวรรณมณี

ผมนายศิลป์ชัย สุวรรณมณี ในอำเภอถ้ำพรรณา จ.นครศรีธรรมราช  มีนามสกุลนี้อยู่มาก แตกสาขามากมาย ไม่ทราบเหมือนกันว่ามาจากต้นตระกูลเดียวกันไหม หากสามารถรวบรวมสายตระกูลได้เป็นเรื่องที่ดีมากครับ 0890380331

ผมเองก็ตระกูลสุวรรณมณีครับ ปู่ชื่อชุ่มย่าชื่อจับ อยู่กาญจนดิษ ผมอยู่ก.ท.มครับ อภิชาติ สุวรรณมณี ผมไม่เคยเจอหน้าญาติๆๆเลย เพราะพ่อผมเสียแล้ว

สวัสดี ครับ ผมนายอภิชัย สุวรรณมณี ผมเกิดที่จ.ปัตตานี บ้านเกิดพ่ออยู่ที่ ต.ปากระวะ อ.ระโนด จ.สงลา ปู่เคยเล่าให้ฟังว่าต้นตระกูลมาจาก ต.ชิงโค ดีใจที่ได้รู้จักทุกคน และผมก็อยากเห็นสายตระกูลของเราทุกสาย 0815675411
โดย : อภิชัย สวรรณมณี


ผมก็นามสกุลสุวรรณมณีครับพ่อผมเป็นคนจังหวัดยะลา อยู่อำเ๓อบันนังสตา แต่ผมเกิดที่พิษณุโลก

สวัสดี ลุงๆป้าๆพี่ๆน้าๆลูกๆหลานๆ สุวรรณมณีทุกๆคน เจี๊ยบเองก็นามสกุลสุวรรณมณีเหมือนกันเป็นคนตำบลนากะชะอำเภอฉวาง จ.นครศรีธรรมราช ดีใจจังพอได้เข้ามาอ่านเจอว่ามีคนที่ใช้นามสกุลเดียวกันอยากจะสืบหาต้น ตระกูลเหมือนกัน 0819935350
โดย : ทิพวรรณ์ สุวรรณมณี

สวัสดี ครับผม สุริยา สุวรรณมณี ครับ ผมเกิดที่ ชุมพร แต่พ่อผมมาจากสงขลาครับ ลุงก็เคยบอกครับว่าตระกูลเรา เป็นนามสกุล พระราชทาน ยังไงก็ช่วยกันรักษาชื่อเสียงตระกูลของเราตลอดไปนะครับ
โดย : สุริยา

ผมบ้านอยู่อำเภอถ้ำพรรณรา-ฉวาง นามสกุลสุวรรณมณีเหมือนกัน มีอยู่เยอะมากๆๆๆๆๆเลยแต่เชื่อสายทางนี้เป็นจีนนะครับ
คนนามสกุล สุวรรณมณี มีเชื่อสายมาจากจีนทีหนีอพยพเมื่อสมัยสงครามยังไงถ้าสามารถจัดงานจริงก็
ติิดต่อทางเมล์นะครับ-teanchai2009@hotmail.com
กระผมหวังอย่างยิ่งคงด้ายจัดงานเพื่อความสำพันธ์ที่ดีเพราะยิ่งนับวันยิ่งหายไปและอยากหั้ยลูกหลานด้ายรู้จักกันมากขึ้น

ผมก็สุวรรณมณี เกิดชุมพรเรียนสุราษแต่มาอยู่เชียงใหม่
โดย : ธำรงค์สุวรรณมณีผม


ผมก็นามสกุลสุวรรณมณื  เกิดที่อำเภอสะเดา  จังหวัดสงขลา
โดย : สุรศักดิ์ สุวรรณมณื





ลูกหลานสุวรรณมณีฝั่ง อำเภอฉวาง จ.นครศรีฯ

  กระผมเป็นลูกหลานตระกูลสุวรรณมณีที่บรรพบุรุษอพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณ อ.ฉวาง ,อ.ถ้ำพรรณรา จ.นครศรีธรรมราชเมื่อนานมาแล้วและอยากสืบประวัติตระกูลโดยหวังว่าสักวัน หนึ่งตระกูลสุวรรณมณีจะสามารถจัดงานรวมญาติไม่ว่าจะจัดที่สงขลาหรือที่ใดแต่ ขอให้สามารถร่วมกันใด้จากหลายๆที่เพราะที่กระผมพยายามสืบข่าวคราวทำให้ใด้ รู้ว่ามีหลายจุดที่ลูกหลานสุวรรณมณีใด้ตั้งถิ่นฐานอยู่                    จากมโน สุวรรณมณี 081-5381714 โดย : มโน สุวรรณมณี

ถึง คุณ มโน สุวรรณมณี  ตระกูลสุวรรณมณี กำเนิดที่บ้านชิงโค อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นตระกูลเก่าแก่ของที่นั้น และเป็นตระกูลใหญ่ และเกี่ยวเนื่องกับตระกูลธรรมโชติ  ตระกูลมโนเรศ     ล้วนเป็นพี่น้องกันครับ ผมก็เป็นลูกหลานและมีสายเลือดทั้ง 3 ตระกูลและคิดที่จะจัดทำหนังสือและรวบรวมความเป็นมา เกี่ยวกับตระกูลเอาไว้ และอีกอย่างที่อำเภอควนกาหลงก็มีสุวรรณมณีเยอะมากคับซึ่งย้ายไปจากสงขลากัน คับ 

สุวรรณมณียังคงมีที่มาเลเซียของไทยด้วยเป็นกำนันอยู่รัฐตรังกานูอดีตเคยเป็น ของไทย(คนไทยผลัดถิ่นพวกเค้าคิดถึงญาติพี่น้องในเมืองไทยมาก)สมัยยกหัวเมือง ให้กับต่างชาติ คนที่นั้นพูดภาษาใต้

 ข้าพเจ้ารู้สึกตื้นตันอย่างบอกไม่ถูกที่ได้อ่านบทความเกี่ยวกับบรรพบุรุสใน ข้างต้น ข้าพเจ้านางสาวนฤตพร มะโนรี เป็นบุตรีของนายเย็น มะโนรี ส่วนคุณปู่คือนายเคล้า มะโนรี นามสกุลของเรายังมิได้สูญหาย ข้าพเจ้ายังมีน้องชายและลูกพี่ลูกน้องที่นามสกุลมะโนรี อีก 4 คน ข้าพเจ้าอยากขอบคุณบุคคลที่นำสารสำคัญมาบอกกล่าวในกระทู้นี้เพราะการที่เรา ได้รับรู้ถึงต้นตระกูลของเรามันสำคัญมาก ตอนนี้ดิฉันเข้าใจแล้วว่าทำไมพ่อของข้าพเจ้าไม่เคยที่จะหยุดเป่าปี่ให้กับ มโนราห์ ข้าพเจ้ารู้แล้วว่าทำไมพ่อถึงมีความสุขและรักมโนราห์มาก เพราะมันอยู่ในสายเลือดของเรานี่เอง ขอบคุณค่ะ

ข้าพเจ้านางสาวนฤตพร มะโนรี เป็นบุตรีของนายเย็น มะโนรี คุณปู่คือนายคล้าว มะโนรี นามสกุลของเรายังอยู่ มโนเรศก็ยังอยู่ หากผู้ใดต้องการหาข้อมูลสามารถสืบค้นได้ ณ บ้านบ่อต้นแซะ ม. 10 ตำบลบ้านนา อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ขอขอบคุณบุคคลที่นำกระทู้นี้มาเผยแพร่

หนูก็นามสกุลสุวรรณมณีเหมือนกันค่ะ พ่อเป็นคนอ.ฉวาง นครศรีธรรมราช

สวัสดีครับ..ลูกหลานสุวรรณมณีทุกท่าน กระผมเป็นลูกหลานสุวรรณมณีฝั่ง อำเภอฉวาง จ.นครศรีฯขอความคิดเห็นบรรดาลูกหลานสุวรรณมณีที่อยู่กระจัดกระจายตามพื้นที่ ต่างๆทั้งในไทยและมาเลย์เซียหรือยู่ที่ใหน่ๆในโลกนี้ ว่าเราสมควรจัดงานรวมญาติสุวรรรมณีขึ้นมา โดยลูกหลานที่มี่ความรู้ในด้านอินเตอร์เน็ตเข้ามาระดมความคิดในการหาวิธีการ ประสานงานรวบรวมข้อมูลของท่านในแต่ละท้องที่ที่ท่านได้พักอาศัยอยู่โดยมี่ เว็ปไซด์หรืออีเมลล์ที่เป็นส่วนกลางที่ทุกคนสามารถเข้าไปใช้งานได้เพื่อไห้ ลูกหลานที่อยู่ยังที่ต่างๆได้ลงทะเบียนและแจ้งข้อมูลต่างเพื่อรวบรวมในการ สืบสายประวัติต่อไป   ทั่งนี้ขอไห้ลูกหลานสุวรรณมณีที่มี่ความเชี่ยวชาญในการใช้อินเตอร์เน็ตเสนอ ตัวเสนอความคิดและวิธีการในการจัดทำเรื่องดั่งกล่าว เพื่อความภาคภูมิใจฃองตระกูลเรา "สุวรรณมณี"   ขอให้บรรพบุรุษของสุวรรณมณีทั่งหลายจงอำนวยอวยชัยให้ประสบผลสำเร๊จในการดั่ง กล่าวด้วยเถิด                                    ลูกหลานผลัดถิ่น                                   มโน  สุวรรณมณี


ตำนานโนรา ของจังหวัดสงขลา

สกุลสุวรรณมณีเป็นสกุลที่ร.6 พระราชทานลำดับที่1775 เมื่อ 22มีนาคม 2455 ต้นตระกูลคือ ร้อยตรีเหมือน สำรองราชการกรมแผนที่ บิดาชื่อทอง ปู่ชื่อแก้ว



หมื่นระบำบันเทิงชาตรี (คล้าย  พรหมเมศ)  หรือโนราคล้ายขี้หนอน
  แห่งเมืองนครศรีธรรมราชตามหนังสือ สารานุกรมไทยภาคใต้
 ( เรียบเรียงโดย วิเชียร  ณ นคร )     กับ
ขุนระบำบันเทิงชาตรี (คล้าย  มโนเรศ) หรือหรือโนราคล้ายขี้หนอน  แห่งเมืองสงขลา
(ข้อมูลสืบค้นโดย  ชยณัฐ  จำปาเรือง)  เป็นคนเดียวกันหรือไม่
จากข้อสังเกต
          ๑.มีประวัติอยู่ในช่วงยุคเดียวกัน คือ สมัยรัชกาลที่ 4 ถึง รัชกาลปัจจุบัน
                ๒.มีราชทินนาม เหมือนกัน คือ  ระบำบันเทิงชาตรี แต่ต่างกันที่บรรดาศักดิ์ เป็นท่าน
ขุน  กับท่าน หมื่น
                ๓.อาศัย อยู่ในมณฑลนครศรีธรรมราช เหมือนกันแต่คนละเมือง  หมื่นระบำบันเทิงชาตรี อยู่เมืองนครศรีธรรมราช  ส่วน ขุนระบำบันเทิงชาตรี อยู่เมืองสงขลา
                ๔.รูปถ่าย ในหนังสือสารานุกรมไทยภาคใต้ เล่ม ๒  กับในหนังสือท่ารำไทย  กล่าว ว่าเป็นโนราคล้ายขี้หนอน ชาวนคร แต่ที่สงขลา ได้รับคำยืนยัน จากลูกสาวของท่าน ยังมีชีวิตอยู่ 2 คน และคนเฒ่าคนแก่ในตำบลชิงโค ต่าง บอกว่านี้คือรูปของขุนระบำบันเทิงชาตรี
                ๕.มีประวัติว่าเข้ารำถวายหน้าพระพักตร์ ในหลวง รัชกาลที่ 5 และ6 เหมือนกัน
                ๖.มีฉายา  โนรา คล้ายขี้หนอน  เหมือนกัน
                ๗.ขุนระบำบันเทิงชาตรี(คล้าย  มโนเรศ) และถึงแก่กรรมในจังหวัดสงขลา ของหมื่นระบำฯ ตามหนังสือสารานุกรมข้อมูลไม่ชัดเจน
          ๘.นามสกุล ทั้ง ๒ มีความคล้องกัน พรหมเมศ , มโนเรศ  แต่ที่สงขลาท่านยังได้รับพระราชทานนามสกุล จาก สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศ ว่า มโนรี ด้วยมีเพียงลูกสาวคนเล็กของท่านใช้  ปัจจุบันนี้นามสกุลนี้จึงหมดไปตั้งแต่ ท่านแต่งงาน
          ๙.มีพรานในคณะชื่อพรานนุ่น เหมือนกัน
จากข้อสันนิษฐานว่าขุนระบำบันเทิงชาตรี (คล้าย  มโนเรศ) และ หมื่นระบำบันเทิงชาตรี(คล้าย  พรหมเมศ) น่าจะเป็นคน คนเดียวกัน
                ๑.จากประวัติที่สืบค้นท่านมีภรรยาหลายคน  เป็นไปได้ว่าท่านได้มีภรรยาอยู่ที่นคร ฯ คงมีลูกหลานอยู่ที่นั้น
                ๒.ใน สมัยนั้น สงขลา พัทลุง ตรัง รวมอยู่ในมณฑลนครศรีธรรมราช ที่ทางการ ให้นำคณะโนรา ของมณฑลนครศรีธรรมราชขึ้นไปรำถวาย พระเจ้าแผ่นดิน ก็เป็นไปได้ว่า  มีการเรียกตัวคณะ โนรา ที่มีความชำนาญ และรำได้สวยงามที่สุด ซึ่งก็อาจจะมาจากหัวเมือง ต่าง ๆ ในการปกครองของมณฑลนครศรีธรรมราช ขึ้นไปรำถวายก็เป็นได้

๓.รูปถ่าย ในหนังสือสารานุกรมไทยภาคใต้ เล่ม ๒ กับในหนังสือตำราท่ารำไทย  กล่าวว่าเป็นโนราคล้ายขี้หนอน ชาวนคร แต่ที่สงขลา ได้รับคำยืนยัน จากลูกสาวของท่าน ยังมีชีวิตอยู่ ๒ คน คือนางเอี่ยม  สุวรรณมณี และนางดำ  ทองแก้วแก้ว และคนเฒ่าคนแก่ในตำบลชิงโค ว่าเป็นขุนระบำบันเทิงชาตรี (คล้าย  มโนเรศ)
                ๔.ประวัติ ในจังหวัดสงขลาได้สืบค้นสอบถามจากลูกหลานของท่านที่ยังมีชีวิตอยู่และคนเฒ่า คนแก่ในตำบลชิงโคที่ เกิดทันท่าน ( อายุราว ๖๐-๗๐ ปี ขึ้นไป)
                ๕.เรื่องบรรดาศักดิ์  สันนิษฐาน ว่า บรรดาศักดิ์ ที่ หมื่นระบำบันเทิงชาตรี นั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ พระราชทานให้ ในปี พ.ศ.๒๔๕๑  ส่วนขุนระบำบันเทิงชาตรี นั้น  สมเด็จเจ้าฟ้า กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์  อุปราช มณฑลปักษ์ใต้ และสมุหเทศาภิบาลมณฑลนครศรีธรรมราช พระราชทานให้ พร้อมตั้งเป็นมโนราหลวง จากคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่ในตำบลชิงโค ว่าได้พระราชทานพร้อมกับ ขุนลอยฟ้าโพยมหน  (ขับ  กล่อมเกลี้ยง) หนังขับ ดีหลวง  หนังตะลุงหลวง  คณะเดียว ของไทย

 มมม
ตำนานโนรา ของจังหวัดสงขลา
ตำนานกำเนิดโนราจังหวัดสงขลา  จากคำบอกเล่าของ ขุนระบำบันเทิงชาตรี (คล้าย  มโนเรศ)  เล่าให้  นางดำ  มโนรี (ทองแก้วแก้ว) อายุ ๖๘  ฟัง ในวัยเด็ก  ชยณัฐ จำปาเรือง  เป็นผู้สัมภาษณ์  ณ บ้านเลขที่  ๕๑ หมู่ ๒ บ้านหัวทรายขาวตำบลชิงโค  อำเภอสิงหนคร  จังหวัดสงขลา ( ปี ๒๕๔๘ )
                มีเมืองเมืองหนึ่ง  ชื่อเมืองพัทละ  มีเจ้าเมืองชื่อ พระยาสายฟ้าฝาด  มีพระมเหสีชื่อ นางศรีมาลา   และมีพระธิดา ชื่อ นางนวลทองสำลี   
                อยู่มาวันหนึ่ง นางนวลทองสำลี  ได้อยากเสวยน้ำค้างตอนเที่งวัน  จึงให้พี่เลี้ยงนางสนม  ออกไปหามาให้  แล้วได้พบน้ำค้างเที่ยงวันในใบบอน  ก็ได้นำมาถวายนางนวลทองสำลี   เมื่อนางนวลทองสำลีได้เสวยน้ำค้างเที่ยงวันเข้าไป  หลังจากนั้นไม่นาน นาวก็ตั้งครรภ์  โดยไม่ได้มีอะไรกับใคร (เทพลงมาจุติ)  ข้าวรู้ไปถึงชาวบ้าน  ก็ต่างวิภาควิจารณ์  กันว่า ลูกเจ้าลูกแผ่นดินไม่รู้ไปท้องกับใคร  เมื่อทราบถึงพระยาสายฟ้าฝาด  ก็ได้เรียกนางนวลทองสำลี มาสอบถามว่าไปตั้งครรภ์กับใคร  แต่นางไม่สามารถบอกได้  ทำให้พระยาสายฟ้าฝาด โกรธมาก  จึงได้จับนางนวลทองสำลี พร้อมด้วยพี่เลี้ยง ลอยแพออกไปจากเมือง  แพลอยไปติดเกาะกะชัง  แล้วได้พบพรานบุญ  ที่อาศัยล่าสัตว์อยู่บนเกาะกะชัง  แห่งนี้  พรานบุญก็ค่อยดูแล หาข้าวปลาอาหารให้นางนวลทองสำลีจนนางคลอดบุตร เป็นชาย  นางได้ตั้งชื่อว่า เทพสิงขร  นางนวลทองสำลีได้ให้กำเนิดเทพสิงขรใต้เตยเชง  เมื่อกุมาร อายุได้ ๙  ชันษา  นางนวลทองสำลีได้สอนท่ารำที่นางได้นิมิต  จนกุมารรำได้ชำนาญ  นางจะพาเทพสิงขรไปหน้าถ้ำทุกวันเพื่อหัดรำ  บางครั้งก็หัดรำด้วยตัวเองโดยอาศัยดูเงาของตนเอง ว่ารำได้ดีและสวยหรือไม่  เทพสิงขรจะมารำอยู่ที่หน้าถ้ำเป็นประจำทุกวัน  จนมีผู้คนผ่านมาพบเห็น  จนมีชื่อเสียงได้ยินไปถึงพระกรรของ  เจ้าเมืองพัทละ ซึ่งเป็นพระอัยกาของเทพสิงขร  ว่ามีเด็กชายอยู่บนเกาะกะชัง  รำได้สวยงามมากราวกับนกกับหงส์  ทำให้พระยาสายฟ้าฝาด อยากดูมาก  จึงรับสั่งให้ทหารข้าราชบริพาน  ไปรับตัวเทพสิงขรเข้ามารำถวายในวัง  ครั้นพระยาสายฟ้าฝาดได้เห็นกุมาร ก็มีความแปลกใจที่หน้าตาของกุมารคล้ายกับนางนวลทองสำลี พระธิดาของพระองค์   เมื่อกุมารรำเสร็จ   พระยาสายฟ้าฝาดก็ได้เรียกกุมารเทพสิงขร เข้ามาสอบถาม จึงได้รู้ว่าเป็นหลานของตน  และด้วยความพอใจในวิชา  ที่กุมารร่ายรำ จึงได้ประทานนามให้ว่า ขุนศรีศรัทธา  พร้อมด้วยเครื่องทรง  อันได้แก่  เทริด   สังวาล   หางหงส์   ทับทรวง   กำไลต้นแขน  กำไลปลายแขน  กำไลมือ  ปั้นเหน่ง   ชายแคลง   ชายไหว  สนับเพลา  
                แต่พะยาสายฟ้าฝาด เมื่อรู้ว่าเทพสิงขร เป็นหลานแต่ก็มิได้ห้เทพสิงขรและนางนวลทองสำลี  กลับเข้ามาอยู่ในวัง  เพราะเมื่อกษัตริย์ตรัสแล้วไม่คืนคำ  เมื่อเทพสิงขรรำถวายเสร็จ ก็กลับไปอยู่เกาะกะชังตามเดิม
                หมายเหตุ  เตยเชง   คือ ต้นเตยที่มีขนาดใหญ่  มีความสำคัญในการตั้งโรงโนรา
                                    เกาะกะชัง  ปัจจุบันคือ เกาะใหญ่  ตั้งอยู่ในอำเภอกระแสสินธิ์ จังหวัดสงขลา
ตำนานกำเนิดโนรา มีหลายตำนานแต่ก็คล้ายคลึงกันต่างมีแหล่งกำเนิดอยู่ใน ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา


ประวัติการสร้าเหรียญพ่อท่านแก้ว หาดูได้จาก ชมรมพระเครื่องเมืองสงขลาครับ

ประวัติของท่านมโนราคล้าย เป็นประวัติที่น่าสนใจ

ประวัติของท่านมโนราคล้าย เป็นประวัติที่น่าสนใจ เนื่องจากท่านเป็นมโนราหลวง คนเดียวของประเทศไทย แต่ประที่ผมได้จากการสัมภาษณ์ ลูก สาวของท่านกับไม่ตรงกับ หนังสือสารานุกรมไทย ภาคใต้ และ สถาบันทักษิณคดีศึกษา เพราะในหนังสือ และสถาบันทักษิณ บอกว่าท่าน ชื่อ หมื่นระบำบันเทิงชาตรี ( คล้าย  มโนเรศ ) และเป็นชาวนครศรีธรรมราช แต่รูปถ่ายเป็นคนดนเดียวกัน จึงเป็นสิ่งที่น่า ค้นหาเพราะตอนนี้ปรัว้ติศาสตร์ อาจจะถูกบิดเบือน

เข้ากรุงเทพฯ ครั้งที่ ๒
  ในปี พ.ศ. ๒๔๖๖ ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ ๖  ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้โนราคล้ายขี้หนอน  โนรามณฑลนครสรีธรรมราช  อันมี โนรามดลิ้น  โนรากลิ้ง  ตำบลควนเกย  อำเภอร่อนพิบูลย์  โนราเสือ  อำเภอทุ่งสง  โนราพรัด  (น่าจะเป็นโนราพรัด สนามไชย)  โนราไข่ร็องแร็ง  บ้านทุ่งโพธิ์  ตำบลสามตำบล  อำเภอร่อนพิบูลย์ ( ปัจจุบันอำเภอจุฬาภรณ์ ) พรานทองแก้ว พรานนุ่น  กับลูกคู่รวม ๑๔ คน  เข้าไปรำถวายหน้าพระที่นั่งภายในพระบรมมหาราชวัง  ในครั้งนี้  โนรามดลิ้น  ซึ่งแสดงเป็นตัวนาง  ได้รับพระราชทานนามสกุลว่า ยอดระบำ
เข้ากรุงเทพฯ ครั้งที่ ๓
เมื่อกลับจากกรุงเทพฯ ในครั้งที่ ๒ แล้ว ต่อมาในระยะเวลาไม่ถึง ๒ เดือน ทางราชการได้เรียกตัวหมื่นระบำบันเทิงชาตรี  ให้นำคณะโนรา มณฑลนครศรีธรรมราช  เข้าไปแสดงในกรุงเทพฯ อีก ในการแสดงครั้งนี้  เจ้าหน้าที่ฝ่ายศิลปากร  ได้ถ่ายรูปท่ารำต่าง ๆ ของหมื่นระบำ และโนราเย็น  แห่ง อำเภอฉวาง ผู้เป็นศิษย์ ไว้เป็นแบบฉบับ เพื่อศึกษาและเผยแพร่ ดังปรากฏในหนังสือตำรารำไทยในหอสมุดแห่งชาติ (ภาพลูกศิษย์ คนเฒ่าคนแก่ในตำบลชิงโคกล่าวว่าน่าจะเป็นโนราทุ่ม ชิงโค)
ต่อมา ในปี พ.ศ. ๒๔๗๔  ในรัชสมัย  พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ ๗   ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้หมื่นระบำบันเทิงชาตรี นำคณะโนรา  มณฑลนครศรีธรรมราช  เข้ารำถวายอีก  แต่ในคราวนี้หมื่นระบำบันเทิงชาตรี ชรามาก  จึงเดินทางไปไม่ได้  แต่ก็ได้มอบหมายให้ โนรามดลิ้น  ยอดระบำ  เป็นหัวหน้าคณะนำโนรา ๑๒ คน ไปรำถวายแทน
                จากคำบอกเล่าของ คนเฒ่าคนแก่ในตำบลชิงโค  โนราคล้าย  เป็น โนราที่ รำได้อ่อนช้อยงดงามมาก มีชื่อเสียงมากในเมืองสงขลา และใกล้เคียง และได้เข้าไปรำถวาย สมเด็จเจ้าฟ้า กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ อุปราช มณฑลปักษ์ใต้ และสมุหเทศาภิบาลมณฑลนครศรีธรรมราช
ณ วังเขาน้อย  เมืองสงขลา     จนได้รับพระราชทานเลื่อนบรรดาศักดิ์  เป็น ขุนระบำบันเทิงชาตรี พร้อมกันนี้ได้  แต่งตั้งให้เป็น โนราหลวง มณฑลนครศรีธรรมราช พร้อมกับ หนังขับ  ดีหลวง ที่ได้พระราชทานบรรดาศักดิ์ ให้เป็นขุนลอยฟ้าโพยมหน (ขับ  กล่อมเกลี้ยง ) แต่งตั้งให้เป็น หนังตะลุงหลวง มณฑลนครศรีธรรมราช  ถ้าเป็นในคราวเดียวกันกับหนังขับ ก็จะเป็นการรำถวาย  ในวังเขาน้อย  อำเภอเมืองสงขลา  เพื่อรับทูตฝรั่ง  ประมาณ พ.ศ. ๒๔๖๗ หรือ ๒๔๖๘  หลังจากได้รับแต่งตั้งเป็น โนราหลวงท่าน มักจะถูกเรียกตัวไปแสดงถวายกรมหลวงฯ ณ วังเขาน้อยเป็นประจำ  โนราคล้าย ท่านได้รับพระราชทานนามสกุลจาก กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ ว่า มโนรี  แต่ปัจจุบันนามสกุลนี้หมดไปแล้ว เนื่องจากมีเพียงลูกสาวคนเล็กของท่านที่ใช้ เมื่อแต่งงานก็เปลี่นยไปใช้นามสกุลของสามี  ว่ากันว่าผู้ที่ พาโนราคล้าย และหนังขับ เข้าแสดงถวายกรมหลวงลพบุรีราเมศ คือ ขุนชิงโคคณาทร (หนู  ธรรมโชติ)  และ หมื่นสุวรรณมณีกุล ทั้ง ๒ ท่านนี้เป็นอดีตกำนันตำบลชิงโค
          ขุนระบำบันเทิงชาตรี  เป็นชาวจังหวัดสงขลา  มีความสามารถในการรำโนราตัวอ่อน เป็นเยี่ยม  จึงได้รับต่งตั้งให้เป็น โนราหลวง  มณฑลนครศรีธรรมราช มีบรรดาศักดิ์เป็น ขุน จากสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ อุปราชมณฑลปักษ์ใต้ และสมุหเทศาภิบาลมณฑลครศรีธรรมราช  และมีชื่อเสียงมากตลอดช่วงรัชกาลที่ ๕ ถึงรัชกาลที่ ๙  หลังจากเป็น โนราหลวง  ท่านขุนระบำ  ได้รับสิทธิพิเศษ จากทางราชการ  นั่นคือไม่ต้องเสียเงินค่าราชการ (น่าจะเป็นภาษี)  ซ่งเรียกกันในสมัยนั่นว่า ใบ ๔ บาท เพราะในสงขลา เสียปีละ ๔ บาท  ในการแสดงในงานหลวง จะมีหนังสือตราครุฑสีแดง  ให้เจ้าหน้าที่นำมาให้ ทุกครั้งที่ได้รับหนังสือแม้จะติดงานที่ใดก็ต้องคืน เพื่อไปเล่นให้งานหลวงทุกครั้ง  การเล่นให้หลวง  ไม่มีค่าราด (ค่าจ้างแสดง)  อย่างงานเอกชนทั่วไป ก็มีแต่เบี้ยเลี้ยงเท่านั้น
                จากคำบอกเล่าจากคนเฒ่าคนแก่ สมัยนั้น  โนราคล้าย  ถือว่าเป็นบรมครูของมโนรา  และถือว่าเป็นสุดยอดของมโนราสยาม  เพราะในสมัยนั้นการประชันโนราท่านไม่เคยแพ้มโนราคณะอื่น  เช่นการประชันที่วัดโลการาม  ตำบลสทิงหม้อ  อำเภอเมือง (ปัจจุบันอำเภอสิงหนคร) จังหวัดสงขลา ให้มีการเหยียบดาบ คมๆ ๗ ขั้น แต่ท่านก็มิได้มีบาดแผลแต่อย่างใด 
                เครื่อง มโนรา ของท่าน เป็นเครื่องเงิน  ทั้งชุด ปัจจุบันไม่ทราบว่าอยู่ที่ไหน  หลังจากท่านโนราคล้ายถึงแก่กรรม นั้นได้มีลูกศิษย์ ชื่อโนรา                                    มาขอยืนไป ใช้ในพิธีโนราลงครูของคณะตนและไม่ได้นำมาคืน แต่เครื่อง ทรงโนราของท่านจะแปลก  ไม่เหมือนกับของโนราท่านอื่น  เพราะมีคนกล่าวว่าเหมือนศิลปะทางภาคกลาง จึงสัณนิษฐานว่าจะได้รับพระราชทานมา
                วาระสุดท้ายของชีวิตท่าน ขุนระบำบันเทิงชาตรี  หรือโนราคล้ายขี้หนอน ท่านเป็นโนราที่มีชื่อเสียงมากของจังหวัดสงขลา และมณฑลนครศรีธรรมราช ในช่วงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนกลาง  จนถึงตอนปลาย  ท่าน มีชีวิตอยู่ถึง ๖ แผ่นดิน คือท่านเกิดในสมัยรัชกาลที่ ๔ และถึงแก่กรรมในสมัยรัชกาลที่ ๙ ท่านถึงแก่กรรมวันศุกร์ ขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๑๒ พ.ศ. ๒๔๙๔ ศิริอายุ รวมได้ ๘๐ ปี  ตั้งศพสวดพระอภิธรรมที่บ้าน ในหมู่บ้านหัวทรายขาว ตำบลชิงโค ๗ วัน และญาปนกิจ ณ เมรุชั่วคราว
 (สามส้าง)  วัดบ่อทอง (ตาหลวงคง)  ตำบลชิงโค  อำเภอสิงหนคร  จังหวัดสงขลา                                   อัฐิ เก็บไว้ ใบบัว ภายในวัดสลักป่าใหม่  ตำบลชิงโค
                ขุนระบำบันเทิงชาตรี หรือโนราคล้ายขี้หนอน ของชาวบ้านชาวเมืองในสมัยนั้น  นับว่าเป็นศิลปินโนรา อาวุโสของจังหวัดสงขลา โดยเป็นโนราคนแรกที่ได้นำเอาศิลปะการร่ายรำแบบโนราไปเผยแพร่ในเมืองหลวงยุคนั้น  และยังได้รำถวายหน้าพระเจ้าแผ่นดิน ถึง สองพระองค์ จนทางการเห็นความสำคัญของโนรา  จึงจดบันทึกและถ่ายภาพไว้ศึกษา (หนังสือท่ารำไทย)  และได้รับไว้เป็นการแสดงของชาติในเวลาต่อมา
          ขุนระบำบันเทิงชาตรี เป็นผู้ที่มีลูกศิษย์มากมาย อาทิ โนราพรัด  สนามชัย  โนราทุ่ม  ชิงโค
โนราฉิ้น  ปาแตร ระโนด   โนราสิม   ควนกาหลง สตูล  โนราจอน  โนราจวง  ปากรอ  และพรานที่อยู่คณะเดียวกับท่านคือ พรานเขียวแข้งไม้ และ พรานนุ่น

Design by Suwanmanee