Wednesday, December 12, 2012

ประวัติของท่านมโนราคล้าย เป็นประวัติที่น่าสนใจ

ประวัติของท่านมโนราคล้าย เป็นประวัติที่น่าสนใจ เนื่องจากท่านเป็นมโนราหลวง คนเดียวของประเทศไทย แต่ประที่ผมได้จากการสัมภาษณ์ ลูก สาวของท่านกับไม่ตรงกับ หนังสือสารานุกรมไทย ภาคใต้ และ สถาบันทักษิณคดีศึกษา เพราะในหนังสือ และสถาบันทักษิณ บอกว่าท่าน ชื่อ หมื่นระบำบันเทิงชาตรี ( คล้าย  มโนเรศ ) และเป็นชาวนครศรีธรรมราช แต่รูปถ่ายเป็นคนดนเดียวกัน จึงเป็นสิ่งที่น่า ค้นหาเพราะตอนนี้ปรัว้ติศาสตร์ อาจจะถูกบิดเบือน


เข้ากรุงเทพฯ ครั้งที่ ๒
  ในปี พ.ศ. ๒๔๖๖ ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ ๖  ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้โนราคล้ายขี้หนอน  โนรามณฑลนครสรีธรรมราช  อันมี โนรามดลิ้น  โนรากลิ้ง  ตำบลควนเกย  อำเภอร่อนพิบูลย์  โนราเสือ  อำเภอทุ่งสง  โนราพรัด  (น่าจะเป็นโนราพรัด สนามไชย)  โนราไข่ร็องแร็ง  บ้านทุ่งโพธิ์  ตำบลสามตำบล  อำเภอร่อนพิบูลย์ ( ปัจจุบันอำเภอจุฬาภรณ์ ) พรานทองแก้ว พรานนุ่น  กับลูกคู่รวม ๑๔ คน  เข้าไปรำถวายหน้าพระที่นั่งภายในพระบรมมหาราชวัง  ในครั้งนี้  โนรามดลิ้น  ซึ่งแสดงเป็นตัวนาง  ได้รับพระราชทานนามสกุลว่า ยอดระบำ
เข้ากรุงเทพฯ ครั้งที่ ๓
เมื่อกลับจากกรุงเทพฯ ในครั้งที่ ๒ แล้ว ต่อมาในระยะเวลาไม่ถึง ๒ เดือน ทางราชการได้เรียกตัวหมื่นระบำบันเทิงชาตรี  ให้นำคณะโนรา มณฑลนครศรีธรรมราช  เข้าไปแสดงในกรุงเทพฯ อีก ในการแสดงครั้งนี้  เจ้าหน้าที่ฝ่ายศิลปากร  ได้ถ่ายรูปท่ารำต่าง ๆ ของหมื่นระบำ และโนราเย็น  แห่ง อำเภอฉวาง ผู้เป็นศิษย์ ไว้เป็นแบบฉบับ เพื่อศึกษาและเผยแพร่ ดังปรากฏในหนังสือตำรารำไทยในหอสมุดแห่งชาติ (ภาพลูกศิษย์ คนเฒ่าคนแก่ในตำบลชิงโคกล่าวว่าน่าจะเป็นโนราทุ่ม ชิงโค)
ต่อมา ในปี พ.ศ. ๒๔๗๔  ในรัชสมัย  พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ ๗   ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้หมื่นระบำบันเทิงชาตรี นำคณะโนรา  มณฑลนครศรีธรรมราช  เข้ารำถวายอีก  แต่ในคราวนี้หมื่นระบำบันเทิงชาตรี ชรามาก  จึงเดินทางไปไม่ได้  แต่ก็ได้มอบหมายให้ โนรามดลิ้น  ยอดระบำ  เป็นหัวหน้าคณะนำโนรา ๑๒ คน ไปรำถวายแทน
                จากคำบอกเล่าของ คนเฒ่าคนแก่ในตำบลชิงโค  โนราคล้าย  เป็น โนราที่ รำได้อ่อนช้อยงดงามมาก มีชื่อเสียงมากในเมืองสงขลา และใกล้เคียง และได้เข้าไปรำถวาย สมเด็จเจ้าฟ้า กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ อุปราช มณฑลปักษ์ใต้ และสมุหเทศาภิบาลมณฑลนครศรีธรรมราช
ณ วังเขาน้อย  เมืองสงขลา     จนได้รับพระราชทานเลื่อนบรรดาศักดิ์  เป็น ขุนระบำบันเทิงชาตรี พร้อมกันนี้ได้  แต่งตั้งให้เป็น โนราหลวง มณฑลนครศรีธรรมราช พร้อมกับ หนังขับ  ดีหลวง ที่ได้พระราชทานบรรดาศักดิ์ ให้เป็นขุนลอยฟ้าโพยมหน (ขับ  กล่อมเกลี้ยง ) แต่งตั้งให้เป็น หนังตะลุงหลวง มณฑลนครศรีธรรมราช  ถ้าเป็นในคราวเดียวกันกับหนังขับ ก็จะเป็นการรำถวาย  ในวังเขาน้อย  อำเภอเมืองสงขลา  เพื่อรับทูตฝรั่ง  ประมาณ พ.ศ. ๒๔๖๗ หรือ ๒๔๖๘  หลังจากได้รับแต่งตั้งเป็น โนราหลวงท่าน มักจะถูกเรียกตัวไปแสดงถวายกรมหลวงฯ ณ วังเขาน้อยเป็นประจำ  โนราคล้าย ท่านได้รับพระราชทานนามสกุลจาก กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ ว่า มโนรี  แต่ปัจจุบันนามสกุลนี้หมดไปแล้ว เนื่องจากมีเพียงลูกสาวคนเล็กของท่านที่ใช้ เมื่อแต่งงานก็เปลี่นยไปใช้นามสกุลของสามี  ว่ากันว่าผู้ที่ พาโนราคล้าย และหนังขับ เข้าแสดงถวายกรมหลวงลพบุรีราเมศ คือ ขุนชิงโคคณาทร (หนู  ธรรมโชติ)  และ หมื่นสุวรรณมณีกุล ทั้ง ๒ ท่านนี้เป็นอดีตกำนันตำบลชิงโค
          ขุนระบำบันเทิงชาตรี  เป็นชาวจังหวัดสงขลา  มีความสามารถในการรำโนราตัวอ่อน เป็นเยี่ยม  จึงได้รับต่งตั้งให้เป็น โนราหลวง  มณฑลนครศรีธรรมราช มีบรรดาศักดิ์เป็น ขุน จากสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ อุปราชมณฑลปักษ์ใต้ และสมุหเทศาภิบาลมณฑลครศรีธรรมราช  และมีชื่อเสียงมากตลอดช่วงรัชกาลที่ ๕ ถึงรัชกาลที่ ๙  หลังจากเป็น โนราหลวง  ท่านขุนระบำ  ได้รับสิทธิพิเศษ จากทางราชการ  นั่นคือไม่ต้องเสียเงินค่าราชการ (น่าจะเป็นภาษี)  ซ่งเรียกกันในสมัยนั่นว่า ใบ ๔ บาท เพราะในสงขลา เสียปีละ ๔ บาท  ในการแสดงในงานหลวง จะมีหนังสือตราครุฑสีแดง  ให้เจ้าหน้าที่นำมาให้ ทุกครั้งที่ได้รับหนังสือแม้จะติดงานที่ใดก็ต้องคืน เพื่อไปเล่นให้งานหลวงทุกครั้ง  การเล่นให้หลวง  ไม่มีค่าราด (ค่าจ้างแสดง)  อย่างงานเอกชนทั่วไป ก็มีแต่เบี้ยเลี้ยงเท่านั้น
                จากคำบอกเล่าจากคนเฒ่าคนแก่ สมัยนั้น  โนราคล้าย  ถือว่าเป็นบรมครูของมโนรา  และถือว่าเป็นสุดยอดของมโนราสยาม  เพราะในสมัยนั้นการประชันโนราท่านไม่เคยแพ้มโนราคณะอื่น  เช่นการประชันที่วัดโลการาม  ตำบลสทิงหม้อ  อำเภอเมือง (ปัจจุบันอำเภอสิงหนคร) จังหวัดสงขลา ให้มีการเหยียบดาบ คมๆ ๗ ขั้น แต่ท่านก็มิได้มีบาดแผลแต่อย่างใด 
                เครื่อง มโนรา ของท่าน เป็นเครื่องเงิน  ทั้งชุด ปัจจุบันไม่ทราบว่าอยู่ที่ไหน  หลังจากท่านโนราคล้ายถึงแก่กรรม นั้นได้มีลูกศิษย์ ชื่อโนรา                                    มาขอยืนไป ใช้ในพิธีโนราลงครูของคณะตนและไม่ได้นำมาคืน แต่เครื่อง ทรงโนราของท่านจะแปลก  ไม่เหมือนกับของโนราท่านอื่น  เพราะมีคนกล่าวว่าเหมือนศิลปะทางภาคกลาง จึงสัณนิษฐานว่าจะได้รับพระราชทานมา
                วาระสุดท้ายของชีวิตท่าน ขุนระบำบันเทิงชาตรี  หรือโนราคล้ายขี้หนอน ท่านเป็นโนราที่มีชื่อเสียงมากของจังหวัดสงขลา และมณฑลนครศรีธรรมราช ในช่วงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนกลาง  จนถึงตอนปลาย  ท่าน มีชีวิตอยู่ถึง ๖ แผ่นดิน คือท่านเกิดในสมัยรัชกาลที่ ๔ และถึงแก่กรรมในสมัยรัชกาลที่ ๙ ท่านถึงแก่กรรมวันศุกร์ ขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๑๒ พ.ศ. ๒๔๙๔ ศิริอายุ รวมได้ ๘๐ ปี  ตั้งศพสวดพระอภิธรรมที่บ้าน ในหมู่บ้านหัวทรายขาว ตำบลชิงโค ๗ วัน และญาปนกิจ ณ เมรุชั่วคราว
 (สามส้าง)  วัดบ่อทอง (ตาหลวงคง)  ตำบลชิงโค  อำเภอสิงหนคร  จังหวัดสงขลา                                   อัฐิ เก็บไว้ ใบบัว ภายในวัดสลักป่าใหม่  ตำบลชิงโค
                ขุนระบำบันเทิงชาตรี หรือโนราคล้ายขี้หนอน ของชาวบ้านชาวเมืองในสมัยนั้น  นับว่าเป็นศิลปินโนรา อาวุโสของจังหวัดสงขลา โดยเป็นโนราคนแรกที่ได้นำเอาศิลปะการร่ายรำแบบโนราไปเผยแพร่ในเมืองหลวงยุคนั้น  และยังได้รำถวายหน้าพระเจ้าแผ่นดิน ถึง สองพระองค์ จนทางการเห็นความสำคัญของโนรา  จึงจดบันทึกและถ่ายภาพไว้ศึกษา (หนังสือท่ารำไทย)  และได้รับไว้เป็นการแสดงของชาติในเวลาต่อมา
          ขุนระบำบันเทิงชาตรี เป็นผู้ที่มีลูกศิษย์มากมาย อาทิ โนราพรัด  สนามชัย  โนราทุ่ม  ชิงโค
โนราฉิ้น  ปาแตร ระโนด   โนราสิม   ควนกาหลง สตูล  โนราจอน  โนราจวง  ปากรอ  และพรานที่อยู่คณะเดียวกับท่านคือ พรานเขียวแข้งไม้ และ พรานนุ่น

4 comments:

Unknown said...

เท่าที่ได้ฟังเรื่องราวของมโนราคล้าย ขี้หนอน จากคนเฒ่าคนแก่ท่านคือทวดของผมเอง

Unknown said...

เท่าที่ได้ฟังเรื่องราวของมโนราคล้าย ขี้หนอน จากคนเฒ่าคนแก่ท่านคือทวดของผมเอง

Dino Sao said...

ท่านอยู่ที่ไหนค่ะ..ดิฉันฝันถึงคนแก่คนนึง มาหารูปในเน็ต.ดูหน้าตาคล้ายท่านโนราห์คล้ายมากเลยค่ะ

Unknown said...

26 พฤศจิกายน 2561 19:01
ขุนระบำบันเทิงชาตรี บ้านท่านอยู่ ต.ชิงโค อ.สิงหนคร จ.สงขลา ชื่อบ้านหัวทรายขาว หน้าวัดสลักป่าใหม่ ภรรยาท่านชื่อนางน่วม บุญรัตนัง ลูกสาวท่านเหลือเพียงท่านเดียว ณ.ปัจจุบัน ชื่อนางพูน สุวรรณมณี(ใช้นามสกุลสามี) ที่ยังคงมีชีวิตอยู่อายุ 90กว่าปี ชุดมโนราของท่านเป็นเงินได้สูญหายไปตอนที่ศิษย์ยืมไปทำโนราโรงครูและไม่นำกลับมาคืนท่าน ปัจจุบันยังคงหลงเหลือเพียงเทริดที่บ้านลูกสาวท่านและกำไรแขนที่มอบให้ โนราสิ้ม วงศ์สุวรรณ ปัจจุบันอายุ84ปี ย้ายไปอยู่บ้านซอย10 ควนกาหลง สตูล เท่านั้น (26พย2561)

Post a Comment

Design by Suwanmanee