Monday, April 15, 2013

พระมหาประพันธ์ สุวรรณมณี

พระมหาประพันธ์ สุวรรณมณี

ผลการวิจัยภาคเอกสารพบว่า ประวัติความเป็นมาของหนังตะลุงในจังหวัดนครศรีธรรมราชไม่ปรากฏชัดเจนว่า เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยใด แต่มีการสันนิษฐานว่าน่าจะเข้ามาในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13-17 โดยได้รับอิทธิพลมาจากหนังตะลุงอินเดีย หนังตะลุงชวา และหนังตะลุงมลายู และได้ผสมผสานกับรูปแบบการแสดงหนังตะลุงของไทย ต่อมาได้พัฒนาเป็นรูปแบบการแสดงหนังตะลุงแบบปัจจุบันมาตามลำดับ และในส่วนของหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในวรรณกรรมหนังตะลุงของจังหวัด นครศรีธรรมราชนั้นมี

5 ประการ คือ

1. กรรม
 2. ไตรลักษณ์
3.ทิศหก
4.มงคล 38
5. อบายมุข

จากการสังเกตการณ์และการสัมภาษณ์ นักวิชาการ นายหนังตะลุง และประชาชนทั่วไปนั้น กล่าวโดยสรุปได้ว่า การแสดงหนังตะลุงได้รับอิทธิพลมาจากอินเดีย ชวา และมลายู แล้วมาประยุกต์เข้ากับหนังตะลุงไทย ในส่วนของวรรณกรรมหนังตะลุงก็ได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาพราหมณ์และพระพุทธ ศาสนา การที่นายหนังตะลุงเสนอหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาผ่านวรรณกรรมหนังตะลุงนั้นมี ความสอดคล้องและสัมพันธ์กับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามในระดับพื้นฐานอันจะนำ ไปสู่การปฏิบัติธรรมในขั้นสูงต่อไปตามลำดับ อีกทั้งเหมาะกับเหตุการณ์ของสังคมไทยในปัจจุบัน
นักวิชาการ นายหนังตะลุง และประชาชนทั่วไปส่วนใหญ่มีความเห็นว่า หนังตะลุงนั้นมีคุณค่าต่อสังคมไทยอย่างยิ่ง และเชื่อว่าหากหนังตะลุงมีการพัฒนาและมีการปรับปรุงให้ทันต่อสังคมไทยอยู่ เสมอแล้ว หนังตะลุงจะยังคงอยู่คู่กับสังคมไทยตลอดไป

ลำดับที่ 4121
ชื่อผลงานวิจัย ศึกษาวิเคราะห์หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฎในวรรณกรรมหนังตะลุงในจังหวัดนครศรีธรรมราช

หัวข้อ(Eng) The Analytical Study of the Principles of Buddhism as Appeared in the Shadow Play of Nakornsrithammarat Province


คำสำคัญ(keyword) หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา วรรณกรรม หนังตะลุง ปี2543



ชื่อผู้วิจัย พระมหาประพันธ์ สุวรรณมณี
ชื่อผู้วิจัย(Eng) Phramaha Prapan Suvanmanee
การศึกษา อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศาสนาเปรียบเทียบ มหาวิทยาลัยมหิดล



สถานที่ติดต่อ วัดราชาธิวาสวิหาร แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300


ช่วงระยะเวลาที่ทำวิจัย(duration) ทำวิจัยเสร็จปี 2543
ประเภท วิทยานิพนธ์มหาวิทยาลัยมหิดล



สถานที่จัดเก็บผลงาน สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยมหิดล อำเภอศาลายา จังหวัดนครปฐม



ประวัติความเป็นมา(history) ด้วยเหตุที่พระพุทธศาสนามีความเกี่ยวพันกับจิตใจของชาวนครศรีธรรมราชเป็น เวลาช้านานซึ่งเป็นแบบฉบับและเป็นหลักที่พึ่งของชาวนครศรีธรรมราชทั้งเป็น ประทีปให้เกิดความสว่งในการดำเนินชีวิต ดังนั้นการแสดงออกของชาวนครศรีธรรมราชจึงมีเรื่องเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาแทรก อยู่ในชีวิตประจำวันและเนื่องจากวรรณกรรมหนังตะลุงจังหวัดนครศรีธรรมราชได้ บันทึกเหตุการณ์ของสังคมแต่ละยุคแต่ละสมัย อีกทั้งผู้แต่งมักแทรกหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนาไว้ในวรรณกรรมหนังตะลุง เท่าที่มีโอกาสเพื่อแสดงให้เห็นความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา และส่งเสริมให้ผู้ชมนำหลักธรรมเหล่านั้นไปคิดพิจารณาทั้งนำไปประพฤติปฏิบัติ เพื่อความดีงามแห่งชีวิต ผู้แต่งที่มีกุศโลบายจะนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาถ่ายทอดเป็นรูปของบทกลอน บ้าง บทเจรจาบ้าง แต่เมื่อสรุปแล้วหลักธรรมที่ผู้แต่งแทรกไว้ในวรรณกรรมหนังตะลุงนั้นมีจุด มุ่งหมายให้ผู้ชมละชั่วแล้วกระทำความดีเป็นหลัก ถือได้ว่าสอดคล้องกับหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาที่กล่าวว่าไว้ว่า "การไม่กระทำบาปทั้งปวง การยังกุศลให้ถึงพร้อมและการทำจิตของตนให้ผ่องแผ้ว" (ขุ.ธ.25/183/49) ฉะนั้น อิทธิพลของหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาจึงปรากฏอยู่ในวรรณกรรมหนังตะลุงเป็น จำนวนมาก เช่น ไตรลักษณ์ มงคลสูตร และอบายมุข เป็นต้น จากอิทธิพลของหลักธรรมดังกล่าวทำให้พุทธศาสนิกชนในจังหวัดนครศรีธรรมราชมี วิถีชีวิตที่เกี่ยวพันกับพระพุทธศาสนาและได้แสดงออกมาในรูปแบบของวรรณกรรม ท้องถิ่นต่างๆ ที่โดดเด่นมากคือหนังตะลุงนั่นเอง

ผู้ศึกษาจึงสนใจที่จะศึกษาวิเคราะห์หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏใน วรรณกรรมหนังตะลุง เพราะการศึกษาวิเคราะห์วรรณกรรมเป็นเสมือนกระจกเงาที่สะท้อนให้เห็นถึงวิถี ชีวิตของมนุษย์และเท่ากับการวิเคราะห์ชีวิตของมนุษย์ด้วย






แนวคิด(concept) หนังตะลุงเป็นศิลปะการละเล่นพื้นบ้านของจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ไม่ได้ให้เฉพาะความเพลิดเพลิน หากแต่แฝงไว้ด้วยภูมิปัญญาและคติธรรม เรื่องที่นำมาแสดงนั้นส่วนใหญ่ได้รับการบันทึกเป็นวรรณกรรมท้องถิ่น เนื้อหาของหนังส่วนมากได้รับอิทธิพลมาจากหลักคำสอนในพระพุทธศาสนาโดยตรงซึ่ง สะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตของชาวนครศรีธรรมราชที่นับถือพระพุทธศาสนาส่วนมาก การศึกษาวิเคราะห์วรรณกรรมจึงเป็นการวิเคราะห์วิถีชีวิตของมนุษย์



วัตถุประสงค์(objective) 1. ศึกษาประวัติความเป็นมาของวรรณกรรมหนังตะลุง ในจังหวัดนครศรีธรรมราช
2. ศึกษาวิเคราะห์หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในวรรณกรรมหนังตะลุงในจังหวัดนครศรีธรรมราช
3. ศึกษาทัศนะของนักวิชาการ นายหนังตะลุง และประชาชนต่อหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในวรรณกรรมหนังตะลุง
แนวทางการปฏิบัติ(regulation) เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ มี 2 ลักษณะ คือ
1. การวิจัยเอกสาร (documentary research)
2. การวิจัยภาคสนาม (field research)
กลุ่มตัวอย่าง(sample) ประชากร
1. เอกสารที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ พระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา และปกรณ์วิเสสต่างๆ วรรณกรรมหนังตะลุงที่เลือกศึกษา จำนวน 10 เรื่อง (กงกรรมกงเวียน ธรรมค้ำจุนโลก กองทัพธรรม กตัญญูพิสดาร แก้วขันธ์ห้า เพชรฆาตสงคราม โจรจำเป็น เมฆบังจันทร์ ผู้ชายจริงหญิงร้อยชู้ และวิญญาณบุพการี) งานวิจัย วิทยานิพนธ์ และเอกสารตำราที่เกี่ยวข้อง
2. กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยภาคสนาม ได้แก่
2.1 กลุ่มนักวิชาการที่มีความรู้ความถนัดในเรื่องหนังตะลุง 9 ท่าน
2.2 นายหนังตะลุงที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับของประชาชน 9 ท่าน
2.3 ประชาชน 9 ท่าน
ตัวแปร(variable) ตัวแปรที่สนใจศึกษา ได้แก่
1. ประวัติความเป็นมาของวรรณกรรมหนังตะลุง ในจังหวัดนครศรีธรรมราช
2. หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในวรรณกรรมหนังตะลุง ในจังหวัดนครศรีธรรมราช
3. ทัศนะของนักวิชาการ นายหนังตะลุง และประชาชนต่อหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในวรรณกรรมหนังตะลุง
คำนิยาม(defination) หลักธรรม หมายถึง ข้อธรรมที่พระพุทธเจ้านำมาสั่งสอน ในการวิจัยครั้งนี้ศึกษาเฉพาะหลักธรรมที่ปรากฏในวรรณกรรมหนังตะลุง ได้แก่ กรรม ไตรลักษณ์ ทิศหก มงคล 38 และอบายมุขเท่านั้น
พระพุทธศาสนา หมายถึง คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าซึ่งประกอบด้วยเรื่องที้เกี่ยวกับความเชื่ออันเป็น หลักทางพระพุทธศาสนา เช่น ความเชื่อเรื่องกรรม ส่วนที่เป็นหลักธรรม เช่น มงคลสูตร และส่วนที่เป็นการปฏิบัติตามหลักธรรมและประเพณีบางอย่างของพระพุทธศาสนา เช่น การทำบุญตักบาตร การเข้าร่วมกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา เป็นต้น
วรรณกรรม หมายถึง งานสร้างสรรค์ทางเอกสารที่มนุษย์ได้สร้างขึ้นมาโดยมีจุดมุ่งหมายอย่างใด อย่างหนึ่ง คำว่าวรรณกรรมในการวิจัยนี้ หมายเอาเอกสารหรือสื่อที่บันทึกเรื่องที่แสดงของหนังตะลุง
หนังตะลุง หมายถึง การละเล่นพื้นบ้านที่ใช้การเล่าเรื่องด้วยบทกลอน บทกาพย์เจรจาโดยใช้ตัวหนังตะลุงเป็นตัวละคร มีเครื่องดนตรีและแสงสีจากดวงไฟ นายหนัง หมายถึง บุคคลที่ทำหน้าที่แสดงหนังตะลุงและเป็นหัวหน้าคณะบริหารงานภายในคณะของตน
เครื่องมือ(tool) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยภาคสนาม ได้แก่ แบบสังเกต และแบบสัมภาษณ์
การรวบรวมข้อมูล(gathering) การวิจัยนี้เป็นวิจัยคุณภาพประเภทการวิจัยเอกสารและการวิจัยภาคสนาม ซึ่งใช้วิธีรวบรวมข้อมูลดังนี้
1. เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร
1.1 เอกสารชั้นปฐมภูมิ ได้แก่ พระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา และปกรณ์วิเสสต่างๆ
1.2 เอกสารชั้นทุติยภูมิ ได้แก่ วรรณกรรมหนังตะลุงที่เลือกศึกษา รวมทั้งเอกสารและงานวิจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
2. การเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนาม ใช้วิธีการดังนี้
2.1 การสังเกตการณ์ คือ การเข้าไปร่วมสังเกตการณ์ในขณะที่มีการแสดงหนังตะลุง โดยผู้วิจัยได้ไปสังเกตการณ์การแสดงหนังตะลุง 2 ครั้ง
2.2 การสัมภาษณ์ โดยสัมภาษณ์นักวิชาการที่มีความรู้ความถนัดในเรื่องหนังตะลุง 9 ท่าน นายหนังตะลุงที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับของประชาชน 9 ท่าน และประชาชน 9 ท่าน
ข้อสรุป(summary) ผลการวิจัยภาคเอกสารพบว่า ประวัติความเป็นมาของหนังตะลุงในจังหวัดนครศรีธรรมราชไม่ปรากฏชัดเจนว่า เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยใด แต่มีการสันนิษฐานว่าน่าจะเข้ามาในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13-17 โดยได้รับอิทธิพลมาจากหนังตะลุงอินเดีย หนังตะลุงชวา และหนังตะลุงมลายู และได้ผสมผสานกับรูปแบบการแสดงหนังตะลุงของไทย ต่อมาได้พัฒนาเป็นรูปแบบการแสดงหนังตะลุงแบบปัจจุบันมาตามลำดับ และในส่วนของหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในวรรณกรรมหนังตะลุงของจังหวัด นครศรีธรรมราชนั้นมี 5 ประการ คือ 1. กรรม 2. ไตรลักษณ์ 3.ทิศหก 4.มงคล 38 5. อบายมุข
จากการสังเกตการณ์และการสัมภาษณ์ นักวิชาการ นายหนังตะลุง และประชาชนทั่วไปนั้น กล่าวโดยสรุปได้ว่า การแสดงหนังตะลุงได้รับอิทธิพลมาจากอินเดีย ชวา และมลายู แล้วมาประยุกต์เข้ากับหนังตะลุงไทย ในส่วนของวรรณกรรมหนังตะลุงก็ได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาพราหมณ์และพระพุทธ ศาสนา การที่นายหนังตะลุงเสนอหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาผ่านวรรณกรรมหนังตะลุงนั้นมี ความสอดคล้องและสัมพันธ์กับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามในระดับพื้นฐานอันจะนำ ไปสู่การปฏิบัติธรรมในขั้นสูงต่อไปตามลำดับ อีกทั้งเหมาะกับเหตุการณ์ของสังคมไทยในปัจจุบัน
นักวิชาการ นายหนังตะลุง และประชาชนทั่วไปส่วนใหญ่มีความเห็นว่า หนังตะลุงนั้นมีคุณค่าต่อสังคมไทยอย่างยิ่ง และเชื่อว่าหากหนังตะลุงมีการพัฒนาและมีการปรับปรุงให้ทันต่อสังคมไทยอยู่ เสมอแล้ว หนังตะลุงจะยังคงอยู่คู่กับสังคมไทยตลอดไป
ข้อเสนอแนะ(suggestion) 1. ทางคณะสงฆ์ควรจะประสานร่วมกับภาครัฐ ชาวบ้าน และคณะหนังตะลุงในจังหวัดนครศรีธรรมราชแล้วจัดให้มีการอบรมในด้านเนื้อหา หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาแก่นายหนังตะลุง เพื่อให้นายหนังมีความรู้ความเข้าใจหลักธรรมอย่างถูกต้องและสามารถนำไปถ่าย ทอดผ่านวรรณกรรมหนังตะลุงอย่างถูกต้อง จะทำให้นายหนังและประชาชนผู้ชมมีความรู้ความเข้าใจในหลักคำสอนทางพระพุทธ ศาสนามากยิ่งขึ้น และเป็นการช่วยเผยแผ่พระพุทธศาสนาอีกด้วย
2. องค์กร สถาบันหรือชมรมหนังตะลุงในจังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดใกล้เคียงควรเก็บ รวบรวมวรรณกรรมหนังตะลุงของคณะหนังตะลุงต่างๆ ที่ไม่ได้จดบันทึกหรือพิมพ์เป็นลายลักษณ์อักษร นำมาบันทึกรวบรวมเก็บไว้ที่ใดที่หนึ่ง เช่น ที่ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นต้น เพื่อจะเป็นประโยชน์แก่นายหนังตะลุงรุ่นหลังและเป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจในการ ศึกษาวรรณกรรมหนังตะลุงต่อไป
3. รัฐบาลควรบรรจุหลักสูตรที่เกี่ยวกับวรรณกรรมหนังตะลุงไว้ในการเรียนการสอน ของสถาบันการศึกษาต่างๆ เช่น สถาบันราชภัฏ เป็นต้น เพื่อจะให้นักเรียน นักศึกษาได้ศึกษาเรียนรุ้ภูมิปัญยาท้องถิ่นจะทำให้เกิดความรักความภาคภูมิใจ ในศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นของตน คือ การแสดงหนังตะลุง อีกด้วย
4. ภาครัฐควรให้การส่งเสริมการแสดงหนังตะลุงในรูปแบบต่างๆ เช่น จัดให้มีการประกวดการแสดงหนังตะลุง หรือการเผยแพร่การแสดงหนังตะลุงทางสื่อมวลชน เช่น วิทยุ โทรทัศน์ เป็นต้น เพื่อกระตุ้นให้คนสนในและติดตาม เมื่อมีโอกาสก็จะได้รับไปแสดง ทำให้การแสดงประเภทนี้เป็นอาชีพที่มีรายได้ดีขึ้น และอาจทำให้เกิดคณะหนังตะลุงใหม่ๆ มากยิ่งขึ้น วิธีการนี้จะช่วยอนุรักษ์ศิลปะการแสดงหนังตะลุงให้อยู่คู่สังคมชาวใต้ไปตราบ นานเท่านาน
ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป ควรมีการศึกษาเปรียบเทียบหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในวรรณกรรมอื่นๆ ของภาคใต้ เช่น การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างหนังตะลุงกับมโนราห์ อิทธิพลหนังตะลุงที่มีต่อวิถีชีวิตของชาวภาคใต้ การศึกษาวิเคราะห์เรื่องกรรมที่ปรากฏในเพลงบอก เป็นต้น และควรมีการศึกษาวิเคราะห์ชีวิตและผลงานด้านวรรณกรรมของนายหนังที่จัดว่า เป็นครูแต่ละท่าน เช่น หนังจันทร์แก้ว บุญขวัญ หนังล้อม สระกำ หนังทวีศิลป์ บางตะพง เป็นต้น เพื่อเป็นการวิเคราะห์ภูมิปัญญาของท่านเหล่านั้นและกระทำให้ปรากฏแก่คนรุ่น หลังต่อไป
ปี 2543

Design by Suwanmanee